วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

How to get Pharmacy license in USA; เส้นทางสู่ใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรในอเมริกา

My First Blog นี้ เป็น blog แรกที่ผู้เขียนเขียนขึ้นมาตามคำเรียกร้องจากคนรอบตัว และ ผู้เขียนเองก็อยากจะ share ประสบการณ์ ให้คนอื่น ๆที่อยากจะไปสอบให้ได้ ใบประกอบวิชาชีพเภสัชกร ได้ทราบว่าจะต้องทำยังไง และต้องเตรียมตัว อย่างไรบ้าง อาชีพเภสัชกรเป็น Top 10 ในอเมริกาที่คนอยากจะทำอาชีพนี้  ซึ่งเป็นอาชีพที่รายได้ดี และเป็นที่นับถือ  จึงไม่แปลกเลยที่ เภสัชกรไทย หรือนิสิตเภสัชศาสตร์ อยากจะไปประกอบอาชีพนี้ที่อเมริกา  ซึ่งเป็นประเทศที่หลาย ๆคนใฝ่ฝันอยากจะไป 

การที่จะไปเป็นเภสัชกรในอเมริกา จริง ๆ แล้ว โดยที่ไม่ต้องไปเรียนใหม่ทั้งหมด นั้น สามารถทำได้หลัก ๆ อยู่ 2 ทาง คือ 1 ไป สอบเข้าเรียนหลักสูตร Doctor of Pharmacy for International Pharmacist ซึ่ง ไว้ผู้เขียนจะเขียนแยกบทความอีกอัน เพราะว่ามันจะยาวไป  สำหรับ Blog นี้ ผู้เขียนจะเขียนถึงอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งก็คือการสอบเทียบความรู้  โดยทั่วไป คนที่จะใช้วิธีสอบเทียบความรู้ได้ต้องเป็นเภสัชกรที่จบมาจากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่สอนอย่างน้อย 5 ปี ดังนั้นใครที่จบมาจากคณะเภสัชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยที่เป็นหลักสูตรเภสัชศาสตร์ 4 ปีจะไม่มีสิทธิ์สอบเทียบความรู้ได้  ซึ่งหากผู้อ่านจบจากคณะเภสัชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ก็จะไม่มีปัญหา อะไร เพราะหลักสูตรในมหาวิทยาลัยในบ้านเราเป็น หลักสูตร 5 ปี และ 6 ปี 

ที่มาที่ไป ก่อนอื่นขอเกริ่นนำ ความเป็นมาก่อนว่าไปมายังไงผู้เขียนจึงทีโอกาสไปสอบ Pharmacy License ที่ อเมริกา ตั้งแต่จำความได้ ผู้เขียนมีความตั้งใจที่อยากจะเรียนให้สูงที่สุด และอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อให้พ่อและ แม่ภูมิใจ เนื่องจากผู้เขียนเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง พ่อ และแม่  ไม่ได้มีโอกาสเรียนสูง จบเพียง  ชั้นประถม และต้องออกมาทำงานหางินเพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัว แต่ต้องขอบคุณ พ่อ และ แม่ของผู้เขียนเป็นอย่างมาก ที่ไม่ปิดกั้นโอกาสทางการศึกษาของผู้เขียน และส่งเสริมให้ผู้เขียนเรียนให้จบถึงปริญญาตรี

ขณะที่เรียนอยู่ที่ ชั้น ม.6 โรงเรียนเบญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เขียนได้สอบโควตาติดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็น มหาวิทยาลัน้องใหม่ของประเทศไทย ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผู้เขียนอยากจะสละสิทธิ์ และไปสอบ ENTRANCE เข้ามหาวิทยาลัยที่กรุงเทพ หรือ เชียงใหม่ แต่เนื่องจากมีเหตุผลหลายประการจากครอบครัวทำให้ข้าพเจ้าตกลงปลงใจที่จะเรียนที่บ้านเกิดต่อไปหลังจากได้แอบร้องไห้ไปหลายยก ทั้ง ๆ ที่ใจจริงแล้วไม่ได้อยากเรียนคณะเภสัชศาสตร์ เลย แต่ที่เลือกตอนนั้นเพราะเป็คณะที่มีคะแนนสูงที่สุดในมหาวิทยาลัยตอนนั้น ในที่สุดผู้เขียนก็ได้ก้าวเข้ามเป็นนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ รุ่นที่ 2 ของมหาวิทยาลัยภูธรแห่งนี้ และระยะเวลา 5 ปี ที่เรียนอยู่ที่นี่ จากการใช้ชีวิต การทำกิจกรรมต่าง ๆ และประสบการณ์จกาการฝึกงาน ได้เปลี่ยนความคิดของผู้เขียน จากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว จากที่เคยคิดว่าจะไม่ชอบคณะนี้ กลับมีความผูกพันอย่างบอกไม่ถูก ตอนที่ผู้เขียนเรียนอยู่ปีสุดท้าย  เป็นช่วงที่ผู้เขียนได้เริ่มชอบเภสัชศาสตร์ สาขาคลินิก ซึ่งตอนนั้นผู้เขียนก็ไม่ทราบหรอกว่า คำว่าเภสัชกรคลินิกที่แท้จริงนั้นหมายความว่าอย่างไร รู้แต่เพียงว่าได้ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วย และแก้ปัญหาด้านยาให้ผู้ป่วย ซึ่งเป็นแนวคิดทางสภาเภสัชกรรม และสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลต้องการที่จะพัฒนาให้มีเภสัชกรที่เชี่ยวชาญด้านคลินิกนี้มากขึ้น และทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย
จากความตั้งใจไว้ตั้งแต่เด็กแล้วว่าต้องการเรียนให้สุงที่สุด แต่ไม่ต้องการรบกวนเงินจากพ่อ และ แม่แล้ว หนทางที่จะเรียนต่อได้ ก็คือหาทุนการศึกษา ผู้เขียน เลยสมัครรับทุนอาจารย์ ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และได้รับทุน จึงได้บรรจุตำแหน่ง พนักงานสายวิชาการ (อาจารย์) หลังจากเข้ารับการบรรจุได้ไม่ถึง 2 เดือน ผู้เขียนก็ได้เข้าเรียนต่อในหลักสูตร เภสัชศาสตร์ สาขาบริบาลเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy; Pharm.D.) อีก 2 ปี ซึ่งเป็นสองปีที่ผู้เขียนได้เรียนรู้อย่างมากมาย และทำให้ผู้เขียนเข้าใจว่า เภสัชกรคลินิกที่แท้จริง และ การบริบาลเภสัชกรรมเป็นอย่างไร เมื่อเรียนจบผู้เขียนได้กลับมาทำงานในตำแหน่งอาจารย์  อยู่ไม่ถึงสองปีก็ได้รับทุนศึกษาต่อปริญญาเอกใน ประเทศไทย ซึ่งตอนนั้น ประเทศไทยอยู่ในยุค IMF ซึ่งทำให้ทุนการศึกษาที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศในด้านคลินิกนั้นไม่มี แต่เนื่องจากข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะศึกษาต่อด้านเภสัชศาสตร์คลินิกนี้ แต่ในทุนที่ข้าพเจ้ารับนี้สามารถที่จะไปต่างประเทศได้ 1 ปี จึงตกลงใจที่จะเรียนหลักสูตรในประเทศ หลังจากเริ่มเรียน ปีแรก ข้าพเจ้าก้มีความตั้งใจแล้วว่าจะต้องไปต่างประเทศในปีที่ 2 ให้ได้ และประเทศเดียวที่คิดอยากจะไปคือ สหรัฐอเมริกา เพราะเป็นที่ที่ เภสัชศาสตร์คลินิกมีการพัฒนามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
จะทำยังไงดีล่ะ ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ผู้เขียนกังวลเป็นสิ่งแรกเมื่อตั้งใจจะไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะว่าผู้เขียนไม่ได้เก่งมากมายนัก อันที่จริงแล้วผู้เขียนชอบภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก แต่เรียนตั้งแต่เด็กจนโต แทบจะไม่ซึมซับเลย แต่เพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมาย ผู้เขียนจึงตั้งปณิธานว่าจะต้องตั้งใจ และพัฒนาความสามารถด้านภาษาให้ได้ จุดเริ่มต้นก็คือ ผู้เขียนได้ซื้อเทปการสอน ภาษาอังกฤษมาฟัง ซื้อนิยายภาษาอังกฤษ แบบอ่านสบาย ๆมาอ่าน ดูทีวีภาษาอังกฤษ และ ฝึกพูดตาม ผู้เขียนจะอยุ่กับการฝึกภาษาอังกฤษตลอดเวลาที่มีโอกาส และทำอย่างนี้ประมาณ เกือบ 8 เดือน ก่อนที่เดินทางไปต่างประเทศ คนรอบข้างเขาจะว่าว่าผู้เขียนเวอร์ก็ช่างเขา แต่อยากจะบอกผู้อ่านว่า ผลลัพธ์มันคุ้มค่ากับความตั้งใจ และความพยายามนั้นจริง ๆ
แล้วจะไปเรียนที่ไหนดีล่ะ จากที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ผู้เขียนได้รับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในประเทศไทย แต่สามารถที่จะไปหาประสบการณ์ และทำวิจัยที่ต่างประเทศได้ 1 ปี  ผู้เขียนก็ตัดสินใจที่จะไปที่อเมริกา จึงเริ่มค้นหาข้อมูลทาง อินเทอร์เนท ว่า มีมหาวิทยาลัยกี่แห่ง ที่มีคณะเภสัชศาสตร์ และก็เข้าไปดูแต่ละที่ ว่ามีโปรแกรม หรืองานวิจัยที่เราสนใจหรือไม่ จากนั้นผู้เขียนก็เริ่มเขียนจดหมายถึง คณบดี  ขอไปที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้น ๆ อยากจะบอกว่าส่งไปเยอะมาก  ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านก่อนว่า การที่เภสัชกรต่างชาติ จะขอไปฝึกประสบการณ์ หรือ ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย โดยไม่มี ใบประกอบวิชาชีพนั้น ไม่ได้เลย ซึ่งถ้าเราไม่มีใบประกอบวิชาชีพของสหรัฐอเมริกา เราก็เหมือนคนธรรมดาทั่วไป ข้อนี้จึงเป็นข้อจำกัดอย่างมากต่อทางมหาวิทยาลัยในสหรัฐที่จะรับผู้เขียน แต่ด้วยบุญพาวาสนาส่ง หรืออย่างไรก็ตาม ขณะที่ผู้เขียนกำลังฝึกงานกับผู้ป่วยโรคไต ในปีแรกของการเรียนในหลักสูตรปริญญาเอกนี้ อาจารย์ที่ฝึกให้ผู้เขียนก็ได้แนะนำให้ผู้เขียนได้รู้จักหลักสูตร Fellow of Nephrology ซึ่งเป็นหลักสูตร ของ คณะเภสัชสาสตร์ มหาวิทยาลัยอิลินอย ที่ ชิคาโก (University of Illinois at Chicago) ที่ตั้งอยู่ในรัฐอิลินอย์ ผุ้เขียนจึงได้เขียนจดหมายอิเลคโทรนิค ไปหา program director ซึ่งคุยกันไปมาพักใหญ่ เขาจึงตกลงรับผู้เขียนเข้าในหลักสูตร ผู้เขียนเลยตอบตกลงที่จะไปที่ชิคาโก เพราะว่า ได้ไปทำวิจัย และยังได้วุฒิกลับมาเพิ่มเติมด้วย
FPGEE และ FPGEC certificate ผู้เขียนได้สอบถามข้อมูลจากอาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งที่เคยไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ก่อนที่จะไปอเมริกา อาจารย์ท่านนั้นก็ได้ได้พูดถึงการสอบเทียบความรู้ที่เรียกว่า Foreign Pharmacy Graduate Equivalency Examination (FPGEE)   เพื่อที่จะทำให้ได้ ใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและสามารถเรียนต่อทางคลินิกที่สหรัฐอเมริกาได้ จากนั้นข้าพเจ้าก็เริ่มศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบนี้ และกระบวนการที่จะทำให้ได้ ใบประกอบวิชาชีพนี้มา (ทำก่อนที่จะไปต่างประเทศ)
FPGEE คือ การสอบเทียบความรู้ของเภสัชกรต่างชาติที่ต้องการที่จะสอบให้ได้ใบประกอบวิชาชีเพื่อที่จะศึกษาต่อ และทำงานในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง The National Association of Boards of Pharmacy® (NABP®) (http://www.nabp.net/) ของ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ความคุมการสอบ และการให้ FOREIGN PHARMACY GRADUATE EXAMINATION COMMITTEE™(FPGEC®) CERTIFICATION 
FPGEC Certification or FPGEE เป็นที่ยอมรับต่อ สภาเภสัชกรรมทั้ง 50 รัฐทั่ว สหรัฐอเมริกา ในการที่จะขอ ใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าเภสัชกรต่างชาติมีความรุ้เทียบเท่ากับเภสัชกรที่จบในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นด่านแรกของการที่จะได้มาซึ่งสิทธิ์ในการสมัครขอ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรในรัฐนั้น ๆ ซึ่งในแต่ละรัฐก็จะมีเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2003 ชาวต่าชาติที่จะสามารถสอบ FPGEE หรือ ยื่นขอ FPGEC certificate ต้องจบจาก หลักสูตรเภสัชศาสตร์ 5 ปี แต่อย่างไรก็ตามสำหรับชาวต่างชาติที่จบจากหลักสูตรเภสัชศาสตร์ 4 ปี  ก่อน วันที่ 1 มกราคม 2003 ก็ยังสามารถที่จะสมัครสอบได้
แนวข้อสอบของ FPGEE ประกอบด้วย 4 ด้านคือ ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ(biomedical Sciences)  ร้อยละ 21  ความรู้ทางด้านเภสัชสาสตร์ (Pharmaceutical Sciences) ร้อยละ 29  ความรู้ทางด้านสังคม พฤติกรรม แลกการบริหาร ทางเภสัชศาสตร์ (Social/Behavioral/Administrative Pharmacy Sciences) ร้อยละ 15 และ ความรู้ทางคลินิก (Clinical Sciences) ร้อยละ 35
หลังจากที่ผู้สมัครได้รับอนุญาตให้สมัครสอบได้ ผู้สมัครจะต้อง สมัครสอบภายใน การจัดสอบ 2 ครั้งที่ติดกัน ไม่ใช่นนั้นผู้สมัครจะต้องเริ่มต้นดำเนินการใหม่ตั้งแต่แรก
การสอบจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งช่วงกลางปี และปลายปี ซึ่ง ผู้เขียนก็เริ่มศึกษาถ้าจะสมัครสอบ FPGEE นี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง  ก่อนอื่นผู้เขียนก็ได้ ส่ง e-mail ไปที่ NABP ซึ่งเมื่อเข้าไปในเวปไซต์ http://www.nabp.net/ แล้วคลิกแท็ปข้าบนที่เขียนว่า “Contact Us” จากนั้นผู้เขียนก็เข้าไปส่งข้อความขอ แพ็คเกจของการสมัครสอบ FPGEE และ การสมัครขอ FPGEC ซึ่งจะอยู่ใน แพ็คเกจเดียวกัน หรือจะเขียนจดหมายไปที่  NABP ก็ได้ ตามที่อยู่ข้างล่างนี้

NABP
1600 Feehanville Drive
Mount Prospect, IL 60056-6014
Telephone: 847/391-4406 ,Fax: 847/391-4502
ระหว่างรอใบสมัครผู้เขียนก็ได้เตรียมเอกสารที่ทาง NABP ต้องการในการสมัครสอบนี้ ซึ่งในรอบแรกผู้เขียนได้เตรียม เอกสารดังนี้  
1 ใบสมัครสอบ ซึ่งผู้เขียนแนะนำให้ดูตัวอย่างจาก  Application bulletin ซึ่งสามารถ download ได้จาก internet หรือ กับ แพ็คเกทของใบสมัครที่ขอจาก NABP
2 รุปถ่าย ขนาด พาสปอร์ท 2 รูป
3 ใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ฉบับภาษาอังกฤษ
3 เงินค่าสมัคร จะต้องสั่งจ่าย ต่อ NABP ในรูปของ certified check cashier’s check หรือ ธนาณัติ และใส่ในซองสีชมพูที่มากับใบสมัคร ค่าสมัครสอบครั้งแรก FPGEE คือ 800 เหรียญดอลลาห์สหรัฐ และถ้าสอบครั้งแรกไม่ผ่าน สอบครั้งที่ 2 จะเสียค่าสมัคร 600 เหรียญดอลลาห์สหรัฐ
4 ECE application transcript และ  degree qualification  ต้องถูกส่งต่อ the Educational credentials Evaluatior, Inc (ECE) พร้อมกับเงินค่าดำเนินการ ประมาณ 85 เหรียญดอลลาห์สหรัฐ เพื่อประเมินคุณสมบัติด้านการศึกษาของผู้สมัคร ซึ่งจะเข้าไปหาข้อมูลได้จาก เวปไซต์ www.ece.org/nabp หรือ ติดต่อโดยตรงที่
the Educational credentials Evaluation, Inc.
PO Box 514700
Milwaukee, WI 53203-3470
Phone: 414/289-3400
เอกสารทุกอย่างต้องเป็นภาษาอังกฤษ หากเป็นฉบับ copy ต้องมีการรับรองจาก Notary public
เพราะฉะนั้น แนะนำให้ผู้สมัคร เตรียมเอกสารทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้
ทั้งใบประกอบวิชาชีพ, Transcript หนังสือรับรองคุณวุฒิ หลาย ๆ ฉบับ แต่ละอย่างให้แยกซอง และปิดผนึกด้วยตรามหาลัยที่คุณจบมา
นอกจากนี้สิ่งที่ต้องเตรียมคือ หลักสูตรการเรียน, brochure ของมหาวิทยาลัยที่คุณจบมา, ประมวลการรายวิชา หากเอกสารเหล่านี้เป็นภาษาไทย คุณต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ ให้เรียบร้อยก่อน และต้องรับรองด้วยหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับเช่น สถานทูตไทย แต่อย่างผู้เขียนเองตอนที่สมัคร FPGEE การะบวนการทุกอย่างช้าเพราะว่า ทางFPGEC ขอเอกสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย  ประมวลรายวิชา หลักสูตรที่เรียน รวมถึง brochure ของมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นผู้เขียนอยู่ที่อเมริกาแล้ว แล้วลำบากมาเพราะต้องส่งจดหมายกลับมาขอเอกสารที่เมืองไทย และต้องมาแปลเอกสาร หลักสูตรต่าง ๆ และประมวลรายวิชา แล้วจึงส่งให้สถานทูตไทยที่ชิคาโกช่วยรับรองให้ ทำให้เสียเวลานานเกือบปีกว่าจะได้สอบ FPGEE
 เมื่อเดินทางถึงชิคาโกแล้ว ผู้เขียนใช้เวลาปรับตัวประมาณ1 อาทิตย์ และเริ่มลุยตามแผนที่วางไว้ หลังจากได้รับแพ็ตเกจใบสมัครจาก NABP ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอกสารทั้งหมด และส่งกลับไป พร้อมกับเงินค่าสมัครสอบ จำนวน 800 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือนกว่า ๆผู้เขียนได้รับการตอบกลับ จาก NABP ว่า ต้องการให้ผู้เขีนยส่งเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนจบมา และหลักสูตรที่เรียน ผู้เขียนจึงส่งเอกสารเพิ่มเติม กลับไปให้ทาง NABP  (รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมัครสอบ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.nabp.net/ftpfiles/bulletins/ FPGECAppRegBulletin.pdf)
จากนั้นไม่นานผู้ขียนก็ได้จดหมายตอบรับในการมีสิทธิ์สอบ FPGEE และ ทาง NABP ได้ให้เลข EE (Equivalency Examination number) แก่ผู้เขียน ซึ่งเลขนี้เปรียบเสมือนเลขประจำตัวซึ่งจะต้องติดตัวผู้เขียนไปตลอด ขั้นตอนต่อไปก็คือการสมัครสอบ ซึ่งข้าพเจ้าได้เข้าไปลงทะบียนที่ http:/fpgee.nabp.net. หรือ หากผู้อ่านต้องการส่งแบบฟอร์มการลงทะเบียนสอบ ไปที่ (ได้มาตอนที่ NABP ตอบกลับมาว่ามีสิทธิ์สมัครสอบ) NABP ตามที่อยู่ข้างบน ซึ่งในการลงทะเบียนนี้ทาง NABP จะให้เราเลือกสนามสอบซึ่งมี 3 ที่ คือ เมือง นิวยอร์ค รัฐนิวยอร์ค  เมือง นอร์ทเลค ซึ่งอยู่ติดกับชิคาโก และ เมือง ซาน เมทิโอ ติดกับเมือง ซานฟรานซิสโก รัฐ แคลิฟอเนีย  ขณะนั้นผู้เขียนเลือก เมือง นอร์ทเลค เพราะว่าขณะนั้นผู้เขียนอยู่ที่ชิคาโกซึ่งใกล้กับสนามสอบนั้น
การเตรียมพร้อมสำหรับวันสอบ ซึ่งการสอบนี้เป็นการสอบทั้งวัน ข้อสอบมีทั้งหมด 300 ข้อ แบ่งเป็น 150 ข้อตอนบ่าย  ผู้สอบควรไปถึงสนามสอบอย่างน้อย 1 ชั่วโมง พร้อมกับ FPGEE ID card และ ID card ชนิดอื่น ๆ อีก 2 อัน อันหนึ่งจะต้องมีรูป โดยทั่วไปผู้สอบส่วนมากจะใช้พาสปอร์ต ส่วนบัตรแกหน่งอันสามารถใช้บัตรเครดิต หรือ ใบขับขี่ หรือบัตรประจำตัวทหาร  หลังจากการสอบ ผลสอบจะออกภายใน 8 สัปดาห์หลังจากการสอบ ผู้สอบจะต้องได้คะแนนมากกว่า 75 คะแนน ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียน และ เพื่อน ๆ ของผู้เขียนที่ได้สอบ พบว่า ผ่านทุกคน แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนรววมทั้งเพื่อน ๆ ผู้เขียนได้อ่านหนังสือทบทวนจากหนังสือที่แนะนำด้านล่างนี้
ตอนที่ผู้เขียนสอบนั้นเป็นการสอบแบบกระดาษ แต่ตั้งแต่วันที่ 14 เดือน เมษายน ปี 2009 การสอบ FPGEE เป็นแบบใช้คอมพิวเตอร์ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสอบสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.nabp.net/ftpfiles/bulletins/ FPGEEstudyguide.pdf ตัวอย่างข้อสอบ FPGEE สามารถเข่าไปดูได้ที่ http://www.pharmacyexam.com/fpgee_exam.cfm และ หากต้องการฝึกทำข้อสอบเพิ่มเติม สามารถเข้าที่ เวปไซต์ http://www.pharmainfo.net/pharmacists-zone/fpgee-practice-questions-and-answers นอกจากนี้หนังสือที่ผู้เขียนได้ใช้อ่านเพื่อเตรียมตัวสอบคือ Comprehensive Pharmacy Review โดย Leon Shargel และ Comprehensive Pharmacy Review Practice Exams by Alan H Mutnick และหากผู้อ่านต้องการทดสอบข้อสอบ ทาง NABP ได้จัด pre-FPGEE test ซึ่งเป็นการฝึกการทำข้อสอบมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สมัครคุ้นเคยกับข้อสอบ FPGEE ผู้เขียนก็ได้สมัครเข้าไปลองทำเช่นกัน หากผู้อ่านสนใจ สามารถเข้าไปที่ เวปไซต์ ของ NABP ได้ ค่าสมัคร 50 เหรียญดอลลาห์สหรัฐ
            พูดถึงข้อสอบ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มันไม่ได้ยากอยย่างที่คิด หากเราอ่านหนังสือมาบ้าง แต่ยังไงก็ตามตอนที่อ่านหนังสือแนะนำให้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษนะคะเพราะว่า เราจะได้คุ้นเคยกับคำศัพท์ ลักษณะคำถาม ที่เขาใช้กัน อันนี้ช่วยได้เยอะทีเดียวค่ะ
            ประมาณ 8 อาทิตย์ หลังจากวันสอบ ผู้เขียนก็ได้รับจดหมายแจ้งผลการสอบ ใจเต้นระส่ำเหมือนกันตอนที่เปิดซอง ผลออกมมาว่าผ่าน ทำให้ผู้เขียนใจชื้นขึ้นมา เพราะถ้านับเวลาจากการเริ่มเตรียมตัวจนถึงวันสอบเป็นเวลาเกือบ 1 ที่กว่จะได้สอบเพราะว่าตอนแรกมีปัญหาเรื่องเอกสารทำให้พลาดการสอบครั้งแรกไป เพราะฉะนั้นจึงอยากจะบอกผู้อ่านว่าให้เตรียมเรื่องเอกสารการสมัครสอบให้ดี และดำเนินการล่วงหน้าก่อนเวลาที่คิดว่าจะสอบนาน ๆ เผื่อมีอะไรผิดพลาดจะได้ไม่เสียเวลา เพราะ ใน 1 ปี มีการสอบเพียง 2 ครั้งเท่านั้น
หลังจากที่ทราบผลสอบผู้เขียนก็ให้รางวัลตนเองโดยการ นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่…เตรียมที่จะลุยในขั้นต่อไป
การขอ FPGEC certificate การที่จะขอ FPGEC certificate ได้นั้น เราจะต้องผ่าน FPGEE และ มีคะแนน Tofle และ TSE ตามที่ทาง NABP กำหนด ไว้ โดย ต้องมี คะแนน Tofle อย่างน้อย 550 คะแนน (paper based) หรือ 213 คะแนน (computer based) ส่วน TSE จะต้องได้คะแนนอย่างน้อย 50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน  ซึ่งผู้เขียนสอบได้ Tofle ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แต่ TSE นี่สิเป็นปัญหา สอบกี่ครั้งกี่ครั้งก็ได้แค่ 45 คะแนน ทำให้ผู้เขียนถอดใจอย่างมาก จะทำยังไงดี
แต่สำหรับปัจจุบันทาง ETS ได้รวมเอา TSE และ Tofle เข้าด้วยกัน เรียกว่า internet based Tofle ซึ่งจะมีการทดสอบ ทั้งการฟัง การอ่าน การพูด และ การเขียน เข้าไว้ด้วยกัน เกณฑ์ที่ทาง FPGEC ใช้คือ
ทักษะการอ่าน อย่างน้อย 21 คะแนน
ทักษะการฟัง อย่างน้อย 18 คะแนน
ทักษะการพูด อย่างน้อย 26 คะแนน
ทักษะการเขียน 24 คะแนน
ก่อนหน้านี้หลังจากผ่าน FPGEE แล้วจะต้องสอบ Tofle และ TSE ให้ได้ภายใน 2 ปี แต่ตอนนี้กฎนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
สำหรับการสอบ Tofle ใน อเมริกานั้นตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็น Tofle ibt หมดแล้ว และ การสอบ TSE ในอเมริกาไม่มีแล้ว หรือเม้แต่การสอบในประเทศไทยตอนนี้ก็เป็น Tofle ibt เช่นกัน จึงอาจเป็นการเพิ่มอุปสรรคให้แก่ผู้อ่านได้ เพราะ การทดสอบทักษะการพูดนั้น ต้องได้คะแนนที่สูงมากถึง 26 คะแนน จากเต็ม 30 คะแนน
การยื่นขอใบประกอบวิชาชีพ เล่าต่อถึงตอนที่ผู้เขียนเริ่มท้อใจเนื่องจากสอบ TSE ไม่ผ่านซักที เพราะเท่าที่ตอนนั้นผู้เขียนทราบก็คือ ถ้าไม่มี FPGEC certificate ก็ไม่สามารถที่จะยื่นขอทำ Internship เพื่อเก็บชั่วโมง และจะทำให้ไม่มีสิทธิ์ในการสอบ พื่อได้ใบประกอบวิชาชีพต่อไป แต่เหมือนว่าผู้เขียนจะมีความโชคดีอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกันผู้เขียนก็ได้หาข้อมูลจากอินเทอเนต โดยเข้าไปดู เกณฑ์ว่าแต่ละรัฐ มีเกณฑ์ เป็นอย่างไร จนมาเตะตาที่ รัฐ มิชิแกน ซึ่งเป็นรัฐเพื่อนบ้าน ของ รัฐ อิลินอยลที่ผู้เขียนอาศัยอยู่ตอนนั้น ซึ่งทาง สภาเภสัชกรรมของ มิชิแกน ไม่ต้องใช้ FPGEC certificate แต่สามารถใช้แค่ คะแนน FPGEE และผลสอบ Tofle
เข้าไปที่ เวปไซต์ http://www.michigan.gov/mdch/0,1607,7-132-27417_27529_27548---,00.html แล้วเลื่อนลงมาข้าล่าง จะเห็น Box เขียนว่า Pharmacy application ก็ให้เลือก Pharmacist application Package  แต่นี่ก็ถือเป็นโชคของผู้เขียน เพราะตั้งแต่ปี 2008 เกณฑ์การสมัครเพื่อขอใบประกอบวิชาชีพได้เปลี่ยนไปแล้ว คือทุกคนที่ต้องการยื่นขอ ใบประกอบวิชาชีพนี้จะต้องได้ FPGEC certificate ซึ่งหมายความว่าผู้สมัครจะต้องผ่าน FPGEE, ibt Tofle (หรือ computer based tofel และ TSE) จากนั้นผู้สมัครจะต้องเขียนถึง NABP ให้ส่ง FPGEC certificate มาที่ the Michigan Board office โดยตรง
ซึ่งจดหมายที่จะส่งเพื่อขอให้ทาง NABP ส่ง FPGEC certificate มาที่ the Michigan Board office  คือ

The Foreign Pharmacy Graduate Education Commission,
1600 Feehanville Drive,
Mount Prospect, IL 60056-6014 or by fax to (847) 391-4502.
จะด้วยความโชคดีหรืออะไรก็แล้วแต่ ผู้เขียนจึงเขียน จดหมายไปที่ the Michigan Board office  เพื่อสอบถามเกี่ยกับการทำ internshipว่าผู้ขียนจะสามารถใช้ชั่วโมงที่อยู่ในหลักสูตร fellowship of Nephrology นี้เป็นชั่วโมง intern ได้ไหม และทาง the Michigan Board office  ก็ตกลงยอมให้ผู้เขียนใช้ชั่วโมงที่เรียนอยู่ในหลักสูตร Fellowship นี้เป็นชั่วโมง intern ซึ่งที่ Michigan นั้น ต้องการเพียง 1,000 ชั่วโมงเท่านั้นเอง
จากนั้นผู้เขียนจึงได้กรอกใบสมัครเพื่อขอใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้เขียนจึงรวบรวมหลักฐานทั้งหมด และส่งไปยัง Michigan board รวมทั้งจดหมายรับรองการเรียนอยู่ในหลักสูตร Fellowship of Nephrology ว่าผู้เขียนได้มีการฝึกอะไรบ้าง และให้ program director เป็นคนเซ็นต์ และ จึงได้ส่งไปให้กับทาง Michigan Board และสิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือตอนนั้น ทาง Michigan board จะมีขั้นตอนหนึ่งเพื่อตรวจสอบ หรือยืนยันว่าผู้เขียนเรียนจบเภสัชศาสตร์ จริง และ มีการเรียนในวิชาที่จำเป็นในการใช้ในการประกอบวิชาชีพ ก็จะต้องมีแบบฟอร์มหนึ่ง ที่ทางมหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนจบมาจากเมืองไทยต้องกรอก และส่งกลับมาที่ Board Michigan โดยตรง ดังนั้นผู้เขียนจึงกรอกข้อมูลในส่วนของผู้เขียน และส่งจดหมายดังกล่าวมาที่มหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนจบมา และด้วยความโชคดีของผู้เขียนอีกเช่นกันที่มีเพื่อนเป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น จึงได้ขอให้เพื่อนช่วยดำเนินการให้ ทุกอย่างจึงราบรื่นดี

ซึ่งเมื่อทาง Michigan Board ได้รับเอกสารการสมัคร ของผู้เขียนแล้วก็ได้ส่ง จดหมายยืนยันกลับมา และให้ Customer number ซึ่งเป็น เลขที่เราสามารถเข้าไป update ได้ตลอดเวลาว่าการดำเนินการเกี่ยวกับการยื่นขอ License ของเราไปถึงไหนแล้ว โดยเข้าไปที่ www.michigan.gov/appstatus/. ซึ่งจะบอกว่าเราขาดหลักฐานอะไรบ้าง
จากนั้นไม่เกิน MPJE 1 เดือน ทาง Michigan board ได้ส่งจดหมายตอบกลับมาว่า ผู้เขียนมีสิทธิ์สอบ NAPLEX และซึ่งสามารถเข้าไปลงทะเบียนสมัครสอบ ได้ที่ nabt.net
การนัดหมายสอบ และการเตรียมตัวสอบ NAPLEX และ MPJE ในขั้นตอนของการเข้าไปลงทะบียนผ่านทาง nabt.net นั้น เราต้องเลือกว่าเราจะสอบ NAPLEX  และ MPJE ของ รัฐอะไร และต้องการให้ทาง NABT ส่งคะแนนไปที่รัฐอื่นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้ระบุไปเลยเพราะคุณไม่สามารถที่จะมาดำเนินการทีหลังถ้าคุณเกิดเปลี่ยนใจดังนั้นการที่จะลงทะเบียนคิดให้รอบคอบด้วย และหลังจากที่ผู้เขียนเข้าไปลงทะเบียนสอบ NAPLEX  และ MPJE เรียบร้อยร้อย ก็จะได้ confirmation number กลับมา ให้เก็บหลักฐานนี้ไว้ เผื่อว่าอาจจะมีปัญหาในอนาคต
จากนั้น ไม่เกิน 2-4 สัปดาห์ ทาง NABP ก็จะส่งจดหมายมาหาว่าคุณมีสิทธิ์สอบ และ ให้ เลข Authorization Number ซึ่งต้องใช้ในการนัดหมายวันและเวลาสอบ ซึ่ง authorization number ที่ทาง NABP ให้คุณมานี้ จะมีอายุ เพียง 1 ปี เพราะฉะนั้น คุณจะต้องทำการสอบภายใน 1 ปีหลังจากเข้าไปลงทะเบียนขอสอบ

ขั้นตอนการนัดหมาย
1 วัน และ เวลาสอบต้องอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะระบุไว้ในจดหมายที่ส่งมา บอก authorization number
2 โทร ไปที่ Prometric Candidate Services Call Center ที่ หมายเลข 1800-796-9860 หรือ เข้าไปนัดหมายทางเวปไซต์ www.prometric.com
3 สิ่งที่คุณต้องเตรียมให้พร้อมก่อนที่จะ นัดหมาย 
-          รหัสของรัฐที่คุณมีสิทธิ์สอบ (State of Eligibility code) ซึ่งคุณสามารถดูได้จาก จดหมาย Authorization number ที่ทาง NABP ส่งมา
-           Authorization number และวันหมดอายุ ของเลขนี้
ขั้นตอนการนัดหมายทางอินเทอร์เนต
1 เข้าไปที่ เวปไซต์ www.prometric.com และ คลิก “Locate a Test Site”
2 จะเจอคำถาม “Select your area of study” ให้เลือก “Academic, Professional, Government and Corporate”
3 จะเจอคำถาม “Select your Testing Program” ให้เลือก “NAPLEX” หรือ “MPJE”
4 จะเจอคำถาม “Select your region” ให้เลือก “United States”      จากนั้น เลือกรัฐที่จะขอใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งผู้เขียนก็เลือก รัฐมิชิแกน (MI) และจากนั้นก็ คลิก “Next”
5  ให้ คลิก ที่ “Schedule an Exam”
6 ตรงที่เขียนว่า “Program selection” เลือก “MPJE” หรือ “NAPLEX” จากนั้น คลิก “Next”
7 จากนั้นก็กรอกข้อมูลตามที่ตรงหน้าจอต้องการ
8 ใส่ Authorization number
9 เลือกสนามสอบที่คุณต้องการจะสอบ ซึ่งคุณจะสอบที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเลือกสนามสอบในรัฐที่คุณต้องการใบประกอบวิชาชีพ  ซึ่งทุกที่ที่สอบจะเป็นการสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ คล้ายๆ กับการสอบ Tofle ซึ่งถ้าคุณมีประสบการณ์การสอบ Tofle แล้วก็ไม่น่าห่วงอะไร
6 ทาง Prometric ก็จะให้ Confirmation number มา และบอกวัน เวลา สถานที่สอบ ให้เขียนไว้ให้ดี
การเตรียมตัวสอบ NAPLEX และ MPJE  นอกจากนี้ยังมี Lange Q&A: Pharmacy, Ninth Edition (LANGE Q&A Allied Health) by Gary Hall และ the APhA complete review for Pharamcy by Dick R. Gourley เพื่อใช้ในการเตรียมสอบ NAPLEX และ Guide to Federal Pharmacy Law (Paperback) by Barry S. Reiss (Author)  และ ซีดี เพื่อเตรียมสอบ MPJEจาก เวปไซต์ http://www.pharmacyexam.com ซึ่งจะแยกเป็นชุด CDs สำหรับแต่ละรัฐที่เราต้องการสอบ ซึ่งผู้เขียนได้เลือก รัฐมิชิแกน
ที่อยู่ National Association of Boards of Pharmacy
Foreign Pharmacy Graduate Examination Committee
1600 Feehanville Drive
Mount Prospect, IL 60056
USA
www.nabp.net
หลังจากสอบผ่าน NAPLEX และ MPJE แล้ว สภาเภสัชจะออกใบ Pharmacy license ให้เรา ก็เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ  ฟังดูเหมือนง่ายแต่จริง ๆ แล้วมันไม่ง่ายเลย  ผู้เขียนทำสำเร็จได้ต้องอาศัยทั้งความเพียรพยายาม แสวงหาโอกาส   รวมถึงโชคช่วย จึงทำสำเร็จได้  แต่จากประสบการณ์ของน้อง ๆ ที่ผู้เขียนรู้จักที่เขาพยายามไปทำ License ที่ อเมริกา สิ่งที่เป็น Rate limiting step คือ การสอบภาอังกฤษ และ การหาที่ทำ internship เพราะเป็นการยากมากที่เราจะหาที่ทำ internship ใน setting ที่ทาง state board of pharmacy ในรัฐนั้น ๆ ยอมรับ เพราะส่วนใหญ่ก็จะถูก fill ด้วยนิสิตที่เรียนที่อเมริกาอยู่แล้ว  แล้วเราก็เป็นคนนอก  อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เรื่อง VISA ซึ่งก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญในการทำ internship ด้งนั้นหากจะให้ผู้เขียนแนะนำ  หากผู้อ่านสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่อเมริกา ได้ในหลักสูตรอะไรก็ได้ ให้ถือ VISA F1 เข้าไป จะทำให้เปลี่ยนมาเป็น VISA ที่ทำ internship ได้หลังจากรียนจบ หรือถ้าให้ดีที่สุดต้องถือ H1B ซึ่งเป็น VISA ที่สามารถทำงานได้

            แต่สิ่งที่สำคัญคือการวางแผน เพราะผู้เขียนทำทุกอย่างเสร็จวลาประมาณ 3 ปี โดยเป็นเวลาเตรียมตัวที่เมืองไทย 1 ปี และ 2 ปี กับกระบวนการตั้งแต่การสอบ FPGEE จนกระทั่งได้ License  โดยที่ต้องสอบรอบเดียวผ่านทุกอย่าง ดังนั้นการที่ผู้อ่านจะ ให้ได้ Pharmacy License โดยวิธีนี้ การวางแผน และ การเตรียมความพร้อมจึงเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด


หากผู้อ่านมีคำถามอะไร หรือมีความคิดเห็นอย่างไรก็ ร่วม share กันได้นะคะ  ผู้เขียนก็หวังว่า blog นี้จะช่วยเป็นแนวทางในการ สานฝันของใครหลาย ๆ คนได้บ้าง 
             หากอยากให้เขียน Blog อะไรเพิ่มเติม หรืออยากรู้อะไรก็ Share กันมาได้นะคะ ก็เป็นอันจบแล้วค่ะ สำหรับการเขียน Blog แรก ในชีวิต…